Learning log 15

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พ้อยดุ๊กดิ๊ก"
Learning log 15 
Monday 18 November 2019 
Time 13:30 - 17:30 o'clock



📌The knowledge gained 📒📕📗📘📙

💥กิจกรรมที่ 1💥 เป็นกิจกรรมการเต้นประกอบเพลงเป็นกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
1. จำและนำมาใช้ 👉 นำมาจากประสบการณ์เดิมความจำเดิม เป็นประสบการณ์ที่ดีและมีคุณภาพ 
2. คิดตรึกตรอง คิดไตรตรอง 👉 เด็กคิดอะไรก็ต่อเมื่อเด็กได้ปฏิบัติ
3. คิดยืดหยุ่น 👉 การปรับใช้กับสิ่งที่เกิดขึ้นให้เหมาะสม เด็กได้คิดยืดหยุ่นก็ต่อเมื่อเปิดโอกาสและยอมรับให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพกิจกรรม"


🍄 ทักษะการปฏิบัติ 🍄
1.ริเริ่มลงมือทำ 
2.วางแผนจัดระบบ
3.มุ่งเป้าหมาย


💥กิจกรรมที่ 2💥 กิจกรรม EF เป็นกระบวนการความคิดที่เป็นระบบ

🔰 EF (Executive Functions) 🔰 เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่า IQ

🍭Executive Functions (EF)🍭 ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย 

1. Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน ความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ 

2. Inhibitory Control การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควร เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก”

3. Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบ”ได้ 

4. Focus / Attention การใส่ใจจดจ่อมุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก 

5. Emotional Control การควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น 

6. Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการเริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน 

7. Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร 

8. Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิดเมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง 

9. Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ

🍬หัวใจของหลักสูตรไฮสโคป🍬 คือ วงล้อการเรียนรู้มี 4 ส่วน คือ 👇


🍟กรวยประสบการณ์🍟 คือ 👇

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กรวยประสบการณ์"

🍤ตัวฐานของหลักสูตรไฮสโคป มี 5 ทฤษฎี🍤 คือ 👇

1. จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) การจัดการศึกษาคือ “Learning by doing” “หรือการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง” แนวคิดของจอห์น ดิวอี้ คือแนวคิดเรื่องการปรับตัว จอห์น ดิวอี้ ตระหนักเรื่อง “การปรับตัว” ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญและจะ ต้องนำไปใช้เป็นแนวคิดของการจัดการศึกษา หรือเป็นแก่นแห่งการศึกษา มนุษย์ต้องเผชิญกับปัญหา จึงต้องฝึกให้มนุษย์แก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ฝึกปฏิบัติ ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ

2. อีริคสัน (Erikson) 
✅ เน้นปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
✅ ถ้าปฏิสัมพันธ์ไม่ดี ส่งผลต่อการปรับตัวของสุขภาพจิต
✅ แบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพ 8 ขั้น ได้แก่ 👇
ขั้นที่ 1 อายุ 1-2 ขวบ ไว้ใจ หรือ ไม่ไว้ใจ (Trust vs Mistrust)ความอบอุ่นที่เกิดจากครอบครัว ทำให้เด็กเชื่อถือไว้ใจต่อโลก ไว้ใจคนอื่น ทำให้กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่

ขั้นที่ 2 อายุ 2-3 ขวบ เป็นอิสระหรือละอายสงสัย (Autonomous vs Shame and Doubt) ระยะที่เด็กพยายามใช้คำพูดของตัวเอง และสำรวจโลกรอบๆตัว ถ้าพ่อแม่สนับสนุนจะทำให้เด็กรู้จักช่วยตนเองและมีอิสระ ส่งเสริมความสามารถของเด็ก

ขั้นที่ 3 อายุ 4-5 ขวบ คิดริเริ่ม หรือรู้จักผิด (Initiative vs Guilt) เด็กจะชอบเล่นและเรียนรู้บทบาทของสังคม ริเริ่มทางความคิดจากการเล่น เด็กที่ถูกห้ามไม่ให้ทำอะไรในสิ่งที่เขาอยากทำ เป็นเหตุให้เด็กรู้สึกผิด ตลอดเวลา บิดามารดาควรพิจารณาร่วมกันว่ากิจกรรมใดที่ปล่อยให้เด็กทำได้ ก็ให้เด็กทำ จะได้เกิดคุณค่าในตัวเองลดความรู้สึกผิดลงได้

ขั้นที่ 4 อายุ 6-11 ขวบ ขยัน หรือมีปมด้อย (Industry vs Inferiority) เด็กจะเริ่มมีทักษะทางด้านร่างกายและสังคมมากขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่เด็กเริ่มมีการแข่งขันกันในการทำงาน เด็กวัยนี้จะชอบให้คนชม ถ้าขาดการสนับสนุนอาจทำให้เกิดความรู้สึกมีปมด้อย

ขั้นที่ 5 อายุ 11-18 ปี เข้าใจบทบาทของตัวเอง หรือ สับสนในบทบาทของตัวเอง(Ego Identity vs Role Confusion)ระยะมีเอกลักษณ์ของตนเองกับความไม่เข้าใจตนเอง : เป็นระยะที่เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้ามรู้จักตนเอง ว่าเป็นใคร ถนัดด้านใด สนใจอะไร และถ้าเด็กมีความรู้สึกไม่เข้าใจตนเองก็จะเกิดความสับสน ในตนเอง และล้มเหลวในชีวิตได้

ขั้นที่ 6 อายุ 20-35 ปี ผูกพัน หรือตีตัวออกห่าง (Intimacy vs Isolation) เป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ใช้ชีวิตแบบผู้ใหญ่ทำงาน เพื่อประกอบอาชีพ สร้างหลักฐาน มีความรัก ความผูกพัน

ขั้นที่ 7 อายุ 36-45 ปี ให้กำเนิด หรือหมกมุ่นในตัวเอง (Generativity vs Stagnation) ระยะให้กำเนิดและเลี้ยงดูบุตร วัยผู้ใหญ่ถึงวัยกลางคน มีครอบครัวมีบุตร ได้ทำหน้าที่ของพ่อแม่

ขั้นที่ 8 อายุ 45 ขึ้นไป มีศักดิ์ศรี หรือหมดหวัง (Ego Integrity vs Despair) วัยที่ต้องยอมรับความจริงของชีวิต ระลึกถึงความทรงจำในอดีตถ้าอดีตที่ผ่านมาแล้วประสบความสำเร็จจะทำให้มีความมั่นคงทางจิตใจ

3. เพียเจต์ (Piaget) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้ 👇

  1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น
  2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ 👉--ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก 👉-- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก
  3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้ำหนัก หรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการคิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี
  4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่ 👇

1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน


4. ไวกอตสกี้ (Vygotskys Theory) ไวก็อตสกี้ อธิบายว่า การจัดการเรียนรู้จะต้องคำานึงถึงระดับพัฒนาการ 2ระดับ คือ ระดับพัฒนาการที่เป็นจริง (Actual Development Level) และระดับพัฒนาการที่สามารถจะเป็นไปได้ (Potential Development Level) ระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการที่เป็นจริงและระดับพัฒนาการที่สามารถจะเป็นไปได้ เรียกว่า พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ  คือบริเวณที่เด็กกำาลังจะเข้าใจในบางสิ่งบางอย่าง ไวก็อตสกี้ได้ให้คำานิยามพื้นที่รอยต่อพัฒนาการนี้ว่า“ระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการที่แท้จริง ซึ่งกำาหนดโดยลักษณะการแก้ปัญหาของแต่ละบุคคลกับระดับของศักยภาพแห่งพัฒนาการ การเรียนรู้ในพื้นที่รอยต่อพัฒนาการไวก็อตสกี้อธิบายว่า “พัฒนาการและการเรียนรู้มีลักษณะที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน การเรียนรู้นำาไปสู่พัฒนาการสนับสนุนพัฒนาการ หรือผลักดันให้พัฒนาการเป็นไปในระดับที่สูงขึ้นเป็นการขยายระดับพัฒนาการออกไปอย่างไม่มีขีดจำากัด โดยเกิดจากการเรียนรู้มโนทัศน์ 2 ประเภท คือ มโนทัศน์โดยธรรมชาติ (Spontaneous or Everyday)
🍨ครูศตวรรษที่ 21🍨 มีลักษณะดังนี้ 👇
1 มีความคิดสร้างสรรค์
2 มีความสามารถในการสื่อสาร
3 มีการทำงานที่เป็นกลุ่ม 
4 มีการใช้เทคโนโลยี


👇Evalaute Teaching and Learning👇
👱 Self-assessment👱
💙 เข้าเรียนตรงเวลา
💚 แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
💜 ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
💛 ไม่พูดแทรกในขณะที่อาจารย์กำลังสอน

👱Evalaute frieads👱
💚 เข้าเรียนตรงเวลา
💛 แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
💙 ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

👱Evalaute teacher👱
💚 แต่งกายสุภาพ


💜 เข้าสอนตรงเวลา
💛 พูดจากระชับได้ใจความ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พ้อยดุ๊กดิ๊ก"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Learning log 17 Monday 25 November 2019 Time 13:30 - 17:30 o'clock

Learning log 17  Monday 25 November 2019  Time 13:30 - 17:30 o'clock 📌 The knowledge gained  📒📕📗📘📙 👉 วันนี้เป็นกา...