Learning log 8

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Learning log 8 
Monday 23 September 2019
 Time 13:30 - 17:30 o'clock

📌The knowledge gained📒📕📗📘📙

🔰 กลุ่มที่ 5 🔰
นวัตกรรม (Executive Functions) EF
🔻

➤ Executive Functions (EF) คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้า ซึ่งมีความสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความคิด การวางแผนและการแก้ไขปัญหา ซึ่งลูกจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ จากความจำมาสู่การกระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น

➤ ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะ
สมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือ
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นวัตกรรม (Executive Functions) EF

 📌 Executive Functions (EF) ประกอบด้วย 9 ทักษะ ได้แก่ 📌

1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory)


📢 กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ 📢

✅ การให้ลูกดื่มนมแม่ในช่วง 6 เดือน
✅ ให้ลูกทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ
✅ แสดงความรักด้วยการกอด หอม พูดคุยกับลูกบ่อยๆ เพื่อให้ลูกรู้สึกอบอุ่น
✅ เล่านิทาน อ่านหนังสือกับลูก
✅ ให้ลูกเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อให้จดจำได้ดีขึ้น

2. ทักษะการยั้งคิด (Inhibitory Control)
คือ การควบคุมอารมณ์ตนเอง รู้ว่าสิ่งใดควรทำ – ไม่ควรทำ เช่น ไม่นำของเพื่อนมาเป็นของตนเอง 


📢 กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ 📢

✅ ของเล่นเสริมพัฒนาการที่ต้องใช้สมาธิ ใช้สมองในการวางแผน และคิดแก้ไขปัญหา
✅ ส่งเสริมด้านดนตรี
✅ พูดคุยกับลูกบ่อยๆ หากลูกมีความกังวลใจ ให้ลูกเล่าออกมาอย่าเก็บไว้ เพื่อช่วยระบายความรู้สึก
✅ สอนให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง เช่น เวลารู้สึกโมโห ให้นับตัวเลข 1-10 หรือหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ จนรู้สึกดีขึ้น ไม่หงุดหงิดโวยวาย หรือไปทำร้ายคนอื่น

3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)
คือ ทักษะที่ช่วยให้ลูกรู้จักปรับตัว ยืดหยุ่น และรู้จักแก้ไขปัญหาได้ตามแต่ละสถานการณ์


📢 กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ 📢

✅ กิจกรรมด้านศิลปะ เช่น การวาดรูป ระบายสี การปั้น การพับ ตัด ปะ
✅ ฝึกให้ลูกทำของเล่นจากวัสดุเหลือใช้
✅ การต่อบล็อกเป็นรูปทรงต่าง ๆ

4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus)
เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการที่ลูกมีสมาธิ ไม่วอกแวก จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้ดี


📢 กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ 📢

✅การอ่านหนังสือ
✅การฟังเพลง วาดรูป ระบายสี
✅การเรียนรู้ผ่านการเล่น
✅การต่อจิ๊กซอว์ / ต่อบล็อกรูปทรงต่างๆ
✅การสวดมนต์ ไหว้พระก่อนนอน

5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control)
ช่วยให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี ไม่โมโห หงุดหงิดง่าย


📢 กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ 📢

✅ การอ่านนิทานที่เกี่ยวกับลักษณะนิสัยที่ดี
✅ ให้ลูกได้เล่นร่วมกับผู้อื่น เพื่อรู้จักการแบ่งปัน อดทนรอคอย ไม่แซงคิว
✅ ให้ลูกช่วยงานบ้าน และช่วยเลือกเสื้อผ้าที่ไม่ใช้บริจาคสิ่งของไปให้เด็กคนอื่นๆ ที่ขาดแคลน

6. การวางแผนและการจัดการ (Planning and Organizing)
เป็นการฝึกให้ลูกรู้จักตั้งเป้าหมายและคิดวางแผนด้วยตนเอง


📢 กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ 📢

✅ สอนให้ลูกเรียนรู้เรื่องเวลา
✅ สอนให้ลูกรู้จักตั้งเป้าหมายง่าย ๆ เช่น เก็บออมเงินเพื่อซื้อของที่อยากได้ด้วยตนเอง
✅ ให้ลูกรับผิดชอบงานในบ้าน โดยให้เขาเลือกเองก็ได้ ลูกจะได้ทำอย่างมีความสุข

7. การประเมินตนเอง (Self-Monitoring)


✅ สอนให้ลูกรู้จักประเมินตนเอง และแก้ไขปรับปรุง ข้อนี้จะสอนต่อจากเรื่องการวางแผนก็ได้ โดยทำเป็นตารางงานบ้านให้ลูกไว้ งานชิ้นไหนที่ทำแล้วก็ให้ใส่เครื่องหมายถูก ถ้างานชิ้นไหนยังไม่ได้ทำ ก็ลองถามเขาว่างานชิ้นนี้เขายังไม่ทำเพราะเหตุใด เช่น เป้าหมายนั้นยากไป จะได้ช่วยกันแก้ไขให้ดีขึ้น

8. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)
เป็นการฝึกให้ลูกกล้าคิด กล้าทำอะไรใหม่ๆ


📢 กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ 📢

✅ เปิดโอกาสให้ลูกแสดงความคิดเห็น และเลือกทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ
✅ เมื่อลูกวาดรูประบายสี ลองให้เขาเล่าผลงานของเขาว่าสิ่งๆ นั้นคืออะไร เขาจะเล่าด้วยความภูมิใจ
✅ พาลูกไปเล่นกับเด็กคนอื่นๆ บ้าง เพื่อให้มีสังคม และได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง

9. มีความเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)
ช่วยให้ลูกไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคง่ายๆ จะตั้งใจทำจนกว่าจะสำเร็จ


📢 กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ 📢

✅ กิจกรรมด้านดนตรี กีฬา และศิลปะ
✅ การต่อจิ๊กซอว์ ต่อบล็อก ของเล่นไม้ เกมตึกถล่ม
✅ หมากฮอส หมากรุก




🔰 กลุ่มที่ 6 🔰
นวัตกรรม (Executive Functions) EF
🔻
 Executive Functions คือ กระบวนการทางความคิดในส่วน "สมองส่วนหน้า"
➤ เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ เป็นความสามารถของสมองที่ใช้บริหารจัดการชีวิต
➤ โดยในช่วงวัย 3-6 ปีของเด็ก จะเป็นช่วงที่ดีในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก
➤ ในช่วงนี้สมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุด และหากพ้นจากช่วงเวลานี้ไป  แม้ทักษะ EF จะยังมีการพัฒนาต่อได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงในปฐมวัย
➤ ซึ่งทักษะ EF นั้น จะช่วยกำกับพฤติกรรมและอารมณ์ ช่วยปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
➤ ช่วยให้สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหา วางแผน และจัดการงานต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้ดี
จากการติดตาม EF ระยะยาวตั้งแต่อายุ 6-15 ปี
➤ พบว่าความจำใช้งานเริ่มชัดเจนมากขึ้นตั้งแต่อายุ 6- 12 ปี
➤ ในขณะที่ความยืดหยุ่นในการคิดวิเคราะห์จะมากขึ้นเรื่อยๆ
➤ ระหว่างอายุ 12-15 ปี การควบคุมยับยังจะสำคัญที่สุดและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง

📌 EF สำคัญอย่างไร 📌

👉 ฐานของทักษะEF ที่แข็งแกร่งมีความสำคัญยิ่งกว่าการรู้จักตัวเลขหรือตัวหนังสือ เมื่อเด็กได้รับโอกาสพัฒนา EF ทั้งตัวเด็กเองและสังคมได้รับประโยชน์ จะช่วยสร้างพฤติกรรมเชิงบวกและเลือกตัดสินใจในทางที่สร้างสรรค์ต่อตัวเอง และครอบครัว หากเด็กมีทักษะ EFs เขาจะมีความสามารถในการคิด 👇
 มีความจำดี มีสมาธิจดจ่อสามารถทำงานต่อเนื่องได้จนเสร็จ
✅ รู้จักการวิเคราะห์ มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ ลงมือทำงานได้ และจัดการกับกระบวนการทำงาน จนเสร็จทันตามกำหนด
✅ นำสิ่งที่เคยเรียนรู้มาก่อนในประสบการณ์มาใช้ในการทำงานหรือกิจกรรมใหม่ได้
✅ สามารถปรับเปลี่ยนความคิดได้ เมื่อเงื่อนไขหรือสถานการณ์เปลี่ยนไป ไม่ยึดติดตายตัว จนถึงขั้นมีความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบได้
✅ รู้จักประเมินตนเอง นำจุดบกพร่องมาปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นได้ 
✅ รู้จักยับยั้งควบคุมตนเองไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมแม้จะมีสิ่งยั่วยวน
✅ รู้จักแสดงออกในครอบครัวในห้องเรียน กับเพื่อน หรือในสังคมอย่างเหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การรู้จักเคารพผู้อื่น อยู่กับคนอื่นได้ดี ไม่มีปัญหา
✅ เป็นคนที่อดทนได้ รอคอยเป็น มีความมุ่งมั่นพร้อมความรับผิดชอบที่จะไปสู่ความสำเร็จ

📌 ข้อจำกัดของ EF 📌

 ความจำไม่ดี เรียนรู้ไม่ได้ ทำผิดซ้ำซาก
✅ ปรับตัวไม่ได้ อารมณ์เสียเมื่อต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
✅ อารมณ์ฉุนเฉียวรุนแรง เศร้าเสียใจยาวนาน
✅ มีปัญหาในการเข้าสังคม
✅ มีแนวโน้มเจ็บป่วยโรคจิตเภท เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ฯลฯ
✅ มีโอกาสตัดสินใจผิดพลาดในชีวิต เช่น เรียนไม่จบ หรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
✅ เสี่ยงต่อภาวะบกพร่องทางสมอง เช่น สมาธิสั้น หรืออัลไซเมอร์



🔰 กลุ่มที่ 7 🔰
นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach
🔻
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach

➤ การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญ
กับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้
ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อ่านวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้

📌 วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ 📌

💥 ระยะที่ 1 💥 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ

💥 ระยะที่ 2 💥 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร
กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา

💥 ระยะที่ 3  💥ตำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะ
เด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จาก
แหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น

💥 ระยะที่ 4 💥 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ
ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนาผลงานที่ได้รับ
มอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนาเสนอผลงาน ในรูปของการจัด
แสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสำธิดผลงาน

🔰 กลุ่มที่ 8 🔰
นวัตกรรม STEM (Science Technology Engineering and Mathematics Education)
🔻
➤ แนวทางการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหา ในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21



🔰 กลุ่มที่ 9 🔰
นวัตกรรม มอนเตสเซอรี่ (Montessori)
🔻
➤ การสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) เป็นแนวคิดที่เน้นเด็กเป็นหลักสำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างอิสระ และซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ทำให้เด็กเกิดความอยากรู้ อยากเห็นและแสวงหาความอยากรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยในตัวเองและเกิดพัฒนาการทุก ๆ ด้านในเวลาเดียวกัน

➤ จุดมุ่งหมายของการศึกษาแบบมอนเดสเซอรี่ คือ "ช่วยพัฒนาหรือให้เด็กมีอิสระในด้าน
บุคลิกภาพของเด็กในวิถีทางต่างๆ อย่างมากมาย "

➤ ลักษณะการสอนระบบนี้ เด็กจะก้าวหน้าไปตามธรรมชาติของการพัฒนาของเด็ก เด็กมีอิสรภาพในการเลือกจากสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งต่างๆ

➤ เด็กปกติในสิ่งแวดล้อมของมอนเตสซอรี่ จะพัฒนาการเรียนรู้ในการทำงานด้วยตนเองและความรู้สึกของความรับผิดชอบ มีวิธีการที่จะควบคุมตนเองได้สำเร็จ



🔰 กลุ่มที่ 10 🔰
นวัตกรรม มอนเตสเซอรี่ (Montessori)
🔻
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มอนเตสซอรี่ (Montessori)
💢 หลักการสอนของมอนเตสซอรี่ 💢

✅ เด็กได้รับการยอมรับนับถือ เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เด็กจึงควรได้รับการยอมรับในลักษณะเฉพาะของตัวเอง คุณครูควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้เด็กแต่ละคนตามความสามารถ และพัฒนาการความต้องการตามธรรมชาติของเด็กในแต่ละช่วงวัย

✅ จิตซึมซับ เด็กมีจิตแห่งการหาความรู้ที่เปรียบเสมือนฟองน้ำ โดยเด็กจะซึมซับเอาข้อมูลต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปในจิตของตัวเอง

✅ ช่วงเวลาหลักของชีวิต เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ในช่วงเวลานี้ เด็กควรมีอิสระในการเลือกกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ

✅ การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากการจัดสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมอย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายไปตามขั้นตอน โดยมีสื่ออุปกรณ์มอนเตสซอรี่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการทำงาน

✅ การศึกษาด้วยตัวเอง เด็กได้รู้จักเรียนรู้ระเบียบวินัยของการอยู่ร่วมกันภายในสังคม และมีอิสระในการทำงาน รู้จักเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบ และมีความภาคภูมิใจต่อความสำเร็จในการทำงาน จนทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง



👇Evalaute Teaching and Learning👇

👱 Self-assessment👱
💙 เข้าเรียนตรงเวลา
💚 แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
💜 ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
💛 ไม่พูดแทรกในขณะที่อาจารย์กำลังสอน

👱Evalaute frieads👱
💚 เข้าเรียนตรงเวลา
💛 แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
💙 ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

👱Evalaute teacher👱
💚 แต่งกายสุภาพ
💜 เข้าสอนตรงเวลา
💛 พูดจากระชับได้ใจความ
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Learning log 17 Monday 25 November 2019 Time 13:30 - 17:30 o'clock

Learning log 17  Monday 25 November 2019  Time 13:30 - 17:30 o'clock 📌 The knowledge gained  📒📕📗📘📙 👉 วันนี้เป็นกา...