วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Learning log 15 Monday 18 November 2019 Time 13:30 - 17:30 o'clock

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พ้อยดุ๊กดิ๊ก"
Learning log 15 
Monday 18 November 2019 
Time 13:30 - 17:30 o'clock



📌The knowledge gained 📒📕📗📘📙

💥กิจกรรมที่ 1💥 เป็นกิจกรรมการเต้นประกอบเพลงเป็นกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
1. จำและนำมาใช้ 👉 นำมาจากประสบการณ์เดิมความจำเดิม เป็นประสบการณ์ที่ดีและมีคุณภาพ 
2. คิดตรึกตรอง คิดไตรตรอง 👉 เด็กคิดอะไรก็ต่อเมื่อเด็กได้ปฏิบัติ
3. คิดยืดหยุ่น 👉 การปรับใช้กับสิ่งที่เกิดขึ้นให้เหมาะสม เด็กได้คิดยืดหยุ่นก็ต่อเมื่อเปิดโอกาสและยอมรับให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพกิจกรรม"


🍄 ทักษะการปฏิบัติ 🍄
1.ริเริ่มลงมือทำ 
2.วางแผนจัดระบบ
3.มุ่งเป้าหมาย
💥กิจกรรมที่ 2💥 กิจกรรม EF เป็นกระบวนการความคิดที่เป็นระบบ
🔰 EF (Executive Functions) 🔰 เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่า IQ

🍭Executive Functions (EF)🍭 ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย 

1. Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน ความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ 

2. Inhibitory Control การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควร เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก”

3. Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบ”ได้ 

4. Focus / Attention การใส่ใจจดจ่อมุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก 

5. Emotional Control การควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น 

6. Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการเริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน 

7. Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร 

8. Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิดเมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง 

9. Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ

🍬หัวใจของหลักสูตรไฮสโคป🍬 คือ วงล้อการเรียนรู้มี 4 ส่วน คือ 👇


🍟กรวยประสบการณ์🍟 คือ 👇

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กรวยประสบการณ์"

🍤ตัวฐานของหลักสูตรไฮสโคป มี 5 ทฤษฎี🍤 คือ 👇

1. จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) การจัดการศึกษาคือ “Learning by doing” “หรือการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง” แนวคิดของจอห์น ดิวอี้ คือแนวคิดเรื่องการปรับตัว จอห์น ดิวอี้ ตระหนักเรื่อง “การปรับตัว” ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญและจะ ต้องนำไปใช้เป็นแนวคิดของการจัดการศึกษา หรือเป็นแก่นแห่งการศึกษา มนุษย์ต้องเผชิญกับปัญหา จึงต้องฝึกให้มนุษย์แก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ฝึกปฏิบัติ ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ

2. อีริคสัน (Erikson) 
✅ เน้นปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
✅ ถ้าปฏิสัมพันธ์ไม่ดี ส่งผลต่อการปรับตัวของสุขภาพจิต
✅ แบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพ 8 ขั้น ได้แก่ 👇
ขั้นที่ 1 อายุ 1-2 ขวบ ไว้ใจ หรือ ไม่ไว้ใจ (Trust vs Mistrust)ความอบอุ่นที่เกิดจากครอบครัว ทำให้เด็กเชื่อถือไว้ใจต่อโลก ไว้ใจคนอื่น ทำให้กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่

ขั้นที่ 2 อายุ 2-3 ขวบ เป็นอิสระหรือละอายสงสัย (Autonomous vs Shame and Doubt) ระยะที่เด็กพยายามใช้คำพูดของตัวเอง และสำรวจโลกรอบๆตัว ถ้าพ่อแม่สนับสนุนจะทำให้เด็กรู้จักช่วยตนเองและมีอิสระ ส่งเสริมความสามารถของเด็ก

ขั้นที่ 3 อายุ 4-5 ขวบ คิดริเริ่ม หรือรู้จักผิด (Initiative vs Guilt) เด็กจะชอบเล่นและเรียนรู้บทบาทของสังคม ริเริ่มทางความคิดจากการเล่น เด็กที่ถูกห้ามไม่ให้ทำอะไรในสิ่งที่เขาอยากทำ เป็นเหตุให้เด็กรู้สึกผิด ตลอดเวลา บิดามารดาควรพิจารณาร่วมกันว่ากิจกรรมใดที่ปล่อยให้เด็กทำได้ ก็ให้เด็กทำ จะได้เกิดคุณค่าในตัวเองลดความรู้สึกผิดลงได้

ขั้นที่ 4 อายุ 6-11 ขวบ ขยัน หรือมีปมด้อย (Industry vs Inferiority) เด็กจะเริ่มมีทักษะทางด้านร่างกายและสังคมมากขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่เด็กเริ่มมีการแข่งขันกันในการทำงาน เด็กวัยนี้จะชอบให้คนชม ถ้าขาดการสนับสนุนอาจทำให้เกิดความรู้สึกมีปมด้อย

ขั้นที่ 5 อายุ 11-18 ปี เข้าใจบทบาทของตัวเอง หรือ สับสนในบทบาทของตัวเอง(Ego Identity vs Role Confusion)ระยะมีเอกลักษณ์ของตนเองกับความไม่เข้าใจตนเอง : เป็นระยะที่เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้ามรู้จักตนเอง ว่าเป็นใคร ถนัดด้านใด สนใจอะไร และถ้าเด็กมีความรู้สึกไม่เข้าใจตนเองก็จะเกิดความสับสน ในตนเอง และล้มเหลวในชีวิตได้

ขั้นที่ 6 อายุ 20-35 ปี ผูกพัน หรือตีตัวออกห่าง (Intimacy vs Isolation) เป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ใช้ชีวิตแบบผู้ใหญ่ทำงาน เพื่อประกอบอาชีพ สร้างหลักฐาน มีความรัก ความผูกพัน

ขั้นที่ 7 อายุ 36-45 ปี ให้กำเนิด หรือหมกมุ่นในตัวเอง (Generativity vs Stagnation) ระยะให้กำเนิดและเลี้ยงดูบุตร วัยผู้ใหญ่ถึงวัยกลางคน มีครอบครัวมีบุตร ได้ทำหน้าที่ของพ่อแม่

ขั้นที่ 8 อายุ 45 ขึ้นไป มีศักดิ์ศรี หรือหมดหวัง (Ego Integrity vs Despair) วัยที่ต้องยอมรับความจริงของชีวิต ระลึกถึงความทรงจำในอดีตถ้าอดีตที่ผ่านมาแล้วประสบความสำเร็จจะทำให้มีความมั่นคงทางจิตใจ

3. เพียเจต์ (Piaget) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้ 👇

  1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น
  2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ 👉--ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก 👉-- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก
  3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้ำหนัก หรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการคิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี
  4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่ 👇

1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน


4. ไวกอตสกี้ (Vygotskys Theory) ไวก็อตสกี้ อธิบายว่า การจัดการเรียนรู้จะต้องคำานึงถึงระดับพัฒนาการ 2ระดับ คือ ระดับพัฒนาการที่เป็นจริง (Actual Development Level) และระดับพัฒนาการที่สามารถจะเป็นไปได้ (Potential Development Level) ระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการที่เป็นจริงและระดับพัฒนาการที่สามารถจะเป็นไปได้ เรียกว่า พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ  คือบริเวณที่เด็กกำาลังจะเข้าใจในบางสิ่งบางอย่าง ไวก็อตสกี้ได้ให้คำานิยามพื้นที่รอยต่อพัฒนาการนี้ว่า“ระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการที่แท้จริง ซึ่งกำาหนดโดยลักษณะการแก้ปัญหาของแต่ละบุคคลกับระดับของศักยภาพแห่งพัฒนาการ การเรียนรู้ในพื้นที่รอยต่อพัฒนาการไวก็อตสกี้อธิบายว่า “พัฒนาการและการเรียนรู้มีลักษณะที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน การเรียนรู้นำาไปสู่พัฒนาการสนับสนุนพัฒนาการ หรือผลักดันให้พัฒนาการเป็นไปในระดับที่สูงขึ้นเป็นการขยายระดับพัฒนาการออกไปอย่างไม่มีขีดจำากัด โดยเกิดจากการเรียนรู้มโนทัศน์ 2 ประเภท คือ มโนทัศน์โดยธรรมชาติ (Spontaneous or Everyday)
🍨ครูศตวรรษที่ 21🍨 มีลักษณะดังนี้ 👇
1 มีความคิดสร้างสรรค์
2 มีความสามารถในการสื่อสาร
3 มีการทำงานที่เป็นกลุ่ม 
4 มีการใช้เทคโนโลยี


👇Evalaute Teaching and Learning👇
👱 Self-assessment👱
💙 เข้าเรียนตรงเวลา
💚 แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
💜 ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
💛 ไม่พูดแทรกในขณะที่อาจารย์กำลังสอน

👱Evalaute frieads👱
💚 เข้าเรียนตรงเวลา
💛 แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
💙 ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

👱Evalaute teacher👱
💚 แต่งกายสุภาพ

💜 เข้าสอนตรงเวลา
💛 พูดจากระชับได้ใจความ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พ้อยดุ๊กดิ๊ก"

Learning log 14 Monday 11 November 2019 Time 13:30 - 17:30 o'clock

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พ้อยดุ๊กดิ๊ก"
Learning log 14 
Monday 11 November 2019 
Time 13:30 - 17:30 o'clock
📌The knowledge gained 📒📕📗📘📙

👉 วันนี้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการวางแผนการจัดสภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดความ
เรียบร้อย 👇
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพกิจกรรม"
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พ้อยดุ๊กดิ๊ก"

Learning log 13 Monday 28 October 2019 Time 13:30 - 17:30 o'clock

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พ้อยดุ๊กดิ๊ก"

Learning log 13 
Monday 28 October 2019 
Time 13:30 - 17:30 o'clock


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2562 วันหยุด"

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องด้วย วันที่ 4 - 5 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562
คณะรัฐมนตรีจะมีการประชุมสุดยอดอาเซียน
เพื่อลดปัญหาการจราจรและอำนวยความสะดวก
มหาวิทยาลัยจึงขอประกาศเป็นวันหยุดพิเศษ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พ้อยดุ๊กดิ๊ก"


Learning log 12 Monday 28 October 2019 Time 13:30 - 17:30 o'clock

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พ้อยดุ๊กดิ๊ก"
Learning log 12 
Monday 28 October 2019 
Time 13:30 - 17:30 o'clock


📌The knowledge gained 📒📕📗📘📙

👉 วันนี้เป็นการเรียนจากวิทยากร ซึ่งเคยเป็นอาจารย์ประจำสาขาการศึกษาปฐมวัย ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ กรรณิการ์ สุสม และเป็นการเรียนการสอนที่ทั้งสองเซกมารวมกันเพื่อให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง "สารนิทัศน์" ก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียน อาจารย์จินตนาแจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น และมอบหมายงานให้ทำ

🌸 ความหมายของสารนิทัศน์ 🌸
       สารนิทัศน์ มาจากคำว่า “สาระ” หมายถึง ส่วนสำคัญ ถ้อยคำ มาผสมกับคำว่า “นิทัศน์” หมายถึงตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นดังนั้น “สารนิทัศน์”จึงมีความหมายว่า ส่วนสำคัญที่นำมาเป็นตัวอย่างแสดงให้ผู้อื่นเห็น ในทางการศึกษาปฐมวัยมีคณาจารย์นำสารนิทัศน์มาใช้อย่างหลากหลายโดยสารนิทัศน์ให้ประโยชน์ต่อการแสดงภาพของเด็กโดยกระบวนการด้านเอกสารข้อมูลอย่างชัดเจน ดังนั้น การจัดทำสารนิทัศน์ จึงหมายถึง การจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานหรือแสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรม ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มซึ่งหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวที่บันทึกเป็นระยะๆ จะเป็นข้อมูลอธิบายภาพเด็ก ที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กได้ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมสติปัญญา และแม้แต่สุขภาพ

🍉 สารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย (Documentation for Young Children) 🍉
      หมายถึง การจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู ้ของเด็กปฐมวัย จากการทำกจิกรรมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ซึ่งหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวที่บันทึกไว้เป็นระยะ จะเป็นข้อมูลทที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กทัั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์สังคม และสติปัญญา อีกทั้งยังสะท้อนถึงประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูด้วย

🍅 สารนิทัศน์สำคัญอย่างไร? 🍅
      การจัดทำสารนิทัศน์ (Documentation) เป็นการจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานหรือแสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโตพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ซึ่งหลักฐานและข้อมูลที่บัน ทึกเป็นระยะๆ จะเป็นข้อมูลอธิบายภาพเด็ก สามารถบ่งบอกถึงพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา สารนิทัศน์เป็นการประมวลผลที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูและร่องรอยผลงานของเด็ก จากการทำกิจกรรมที่สะท้อนถึงพัฒนาการในด้านต่างๆ การจัดทำสารนิทัศน์จึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวัดและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ซึ่งมีหลายรูปแบบ ได้แก่
🍂 พอร์ตโฟลิโอสำหรับเด็กเป็นรายบุคคล เช่น การเก็บชิ้นงานหรือภาพถ่ายเด็กขณะทำกิจกรรม มีการใช้แถบบันทึก เสียง แถบบันทึกภาพแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในงานที่เด็กทำ เป็นต้น
🍂 การบรรยายเกี่ยวกับเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น การสอนแบบโครงการ (Project Approach) สามารถให้สารนิทัศน์เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กทุกด้าน ทั้งประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กและการสะท้อนตนเองของครู รูปแบบการบรรยายเรื่องราวจึงมีหลายรูปแบบ อาจได้จากการบันทึกการสนทนาระหว่างเด็กกับครู เด็กกับเด็ก การบันทึกของครู การบรรยายของพ่อแม่ผู้ปกครองในรูปแบบหนังสือหรือจดหมาย แม้กระทั่งการจัดแสดงบรรยายสรุปให้เห็นภาพการเรียนรู้ทั้งหมด
🍂 การสังเกตและบันทึกพัฒนาการเด็ก เช่น ใช้แบบสังเกตพัฒนาการ การบันทึกสั้น เป็นต้น
🍂 การสะท้อนตนเองของเด็ก เป็นคำพูดหรือข้อความที่สะท้อนความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกจากการสนทนาการอภิปรายแสดงความคิดเห็นของเด็กขณะทำกิจกรรม ซึ่งอาจบันทึกด้วยแถบบันทึกเสียงหรือแถบบันทึกภาพ
🍂 ผลงานรายบุคคลและรายกลุ่ม ที่แสดงให้เห็นถึงการเรียนรู้ ความสามารถ ทักษะจิตนิสัยของเด็ก ครูที่ชำนาญจะนำผลงานของเด็กมาใช้ดูพัฒนาการและกระบวนการทำงานของเด็ก ครูส่วนใหญ่มักจะเก็บผลงานการเขียนและผล งานศิลปะ อย่างไรก็ตามครูควรเก็บผลงานหลากหลายประเภทของเด็ก เช่น ภาพเขียน การร่วมระดมความคิดและเขียนออกมาในลักษณะใยแมงมุม การแสดงออกทางดนตรี การก่อสร้างในรูปแบบต่างๆ ดัวอย่างภาษาพูด เป็นต้น นอกจากการเก็บข้อมูลหลักฐานเพื่อประเมินการเรียนรู้และประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยข้างต้นแล้ว สารนิ ทัศน์ยังมีประโยชน์ต่อการพัฒนาครู ซึ่งประเภทของหลักฐานในพอร์ตโฟลิโอของครูรายบุคคลที่ควรใช้พัฒนา 

🍒 สารนิทัศน์มีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยอย่างไร? 🍒
       การจัดทำสารนิทัศน์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย จะช่วยให้การสอนและการประเมินมีคุณภาพ ครูต้องเรียนรู้การจัด การชั้นเรียน การจัดเก็บข้อมูลขณะเด็กทำกิจกรรม การสะท้อนกลับข้อมูล และการนำข้อมูลผลงานมานำเสนอให้ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กเห็นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก ตามหลักการพัฒนาเด็กให้เหมาะสมกับวัย พัฒนาการ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ตลอดจนบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งการจัดทำสารนิทัศน์นั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับหลักสูตรการจัด การเรียนการสอนและการประเมิน มีคุณค่าและประโยชน์ดังนี้
🍍 การจัดทำสารนิทัศน์ที่หลากหลาย จะช่วยครูในแง่ของการตรวจสอบคุณภาพของการศึกษาที่ดีเนื่องจากการศึกษาในปัจจุบันเน้นการประเมินเพื่อตรวจสอบความเข้มแข็งของการศึกษา ซึ่งส่งผลให้โรงเรียนและหน่วยงานที่จัดโปรแกรมการศึกษาปฐมวัย ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาอย่างสม่ำเสมอทำให้บางหน่วยงานน่าแบบทดสอบมาตรฐานซึ่งไม่เหมาะสมมาประเมินเด็กปฐมวัย
🍍 ครูที่จัดทำสารนิทัศน์อย่างสม่ำเสมอ จะจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้สอดคล้องปัญหาและพัฒนาการเด็ก ซึ่งนำ ไปสู่การพัฒนาสมองอย่างชัดเจนสารนิทัศน์สามารถช่วยครูให้จัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้ตรงประเด็นเนื่องจากงานวิจัยเกี่ยวกับสมองพบว่า เด็กจะเกิดการเรียนรู้ได้ดี หากเข้าไปมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติกระบวนการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับความรู้สึกและอารมณ์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ของเด็ก เช่น เด็กรู้สึกต่อการอ่านอย่างไร? เด็กต้องการเรียนอ่านหรือไม่? ความรู้สึกนี้จะมีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านของเด็กในระยะยาว ดังนั้นการทดสอบด้วยข้อสอบมาตรฐานไม่ช่วยเด็กเลยในด้านจิตใจและความสามารถซึ่งต่างจากการใช้สารนิ ทัศน์ในการประเมิน จากผลการวิจัยพบว่าสมองจะทำงานต่อเนื่องไม่แยกส่วนเป็นวิชาหรือเป็นเรื่อง ดังนั้นการใช้แบบทดสอบประเมินเป็นการแยกส่วนของสมอง ซึ่งจะไม่บอกถึงความสามารถในการบูรณาการความรู้ของเด็กที่แท้จริง แต่การรวบรวมผลงานของเด็กจะบอกให้ครูรู้ว่า เด็กคิดและบูรณาการความคิดของตนอย่างไร
🍍 ครูจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อจัดทำสารนิทัศน์เพราะจะมีการวางแผนทั้งด้านการจัดขั้นเรียน การตัดสินใจว่าจะทำอะไรก่อนหลัง รวมถึงการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นเด็ก เนื่องจากครูมีข้อมูลและสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดทำสารนิทัศน์ช่วยให้ครูรู้ว่าเด็กรู้อะไรมาบ้างแล้ว จะช่วยให้ครูก้าวถึงขั้นต่อไปของเด็กได้ง่ายขึ้น สนองตอบความต้องการของเด็กได้อย่างสอดคล้องและสิ่งที่ต้องการพัฒนาอย่างแท้จริง
🍍 สารนิทัศน์ช่วยให้ครูบรรลุความต้องการเฉพาะของเด็กได้ดีกว่าเนื่องจากปัจจุบันเด็กที่มีความต้องการพิเศษในระบบการศึกษาปกติมีมากขึ้น ทั้งเด็กที่มีความสามารถพิเศษเด็กพิการทางกายเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ข้อมูลที่ครูได้จากสารนิทัศน์จะช่วยให้ครูเข้าใจและวางแผนให้เด็กได้เหมาะสมยิ่งขึ้น
🍍 เด็กรับรู้ความสำคัญของการเรียนรู้ เมื่อครูเก็บบันทึกสารนิทัศน์การเรียนรู้ของตัวเด็กเองรวมถึงการรวบรวมผลงานการจัดทำสารนิทัศน์ของเด็กที่ร่วมชั้นเรียนประสบการณ์การค้นพบด้วยตนเองหรือกับกลุ่ม ส่งผลให้เด็กเอาใจใส่รับผิดชอบการทำงาน รู้จักประเมินตนเอง แสดง ออกถึงความพึงพอใจในกระบวนการเรียนรู้และผลที่ได้รับ เด็กเริ่มเรียนรู้ว่าจะทำอะไร และจะนำเหตุการณ์หรือสิ่งที่ดนเรียนรู้เรื่องใดมาน่ำเสนอ และร่วมจัดทำสารนิทัศน์กับเพื่อนและครูในชั้นเรียน
🍍 การจัดสารนิทัศน์ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการของเด็ก ตระหนักในประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กขณะอยู่ที่โรงเรียน และสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของโรงเรียนได้หลายทาง เช่น รับฟังความคิดเห็นของเด็ก ช่วยเด็กทำวัสดุอุปกรณ์ที่เด็กด้องการให้ข้อเสนอแนะช่วยเขียนในสิ่งที่เด็กคิดอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เป็นต้น ทำให้มีโอกาสทบทวนบทบาทการเป็นพ่อแม่ดังนั้นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของพ่อแม่ผู้ปกครองเกี่ยวกับผลงานของเด็กจึงถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่าที่ครูไม่ควรมองข้าม

🍏 ครูจัดทำสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างไร? 🍏
      ในการจัดทำสารนิทัศน์ครูดำเนินการดังนี้
🍎 เตรียมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้เหมาะกับข้อมูลที่ต้องการเก็บวางแผน การเลือกและการจัดการกับวัสดุ สื่อที่เหมาะสมกับข้อมูลที่จะเก็บตั้งแต่ต้นปีการศึกษา ได้แก่ ข้อมูลที่ต้องได้จากการสังเกต เช่น กระดาษ การ์ดขนาดเล็ก ดินสอ ปากกา กล้อง แถบบันทึกเสียง เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น
🍎 ศึกษาหลักสูตรเป้าหมายการพัฒนาเด็ก ซึ่งจะช่วยให้ครูทราบว่าควรเก็บข้อมูลประเภทใด ลักษณะใดจึงจะทำให้เห็นพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
🍎 วางแผนการจัดทำ เลือกวิธีเก็บข้อมูล เช่น บันทึกสั้น ภาพถ่าย แบบสังเกต ภาพจากสไลด์ แถบเสียง แถบบันทึก ภาพ การเขียนไดอะแกรมในรูปแบบของใยแมงมุม การทำบันทึกแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกของเด็ก ครูหรือผู้ปกครอง เป็นต้น
🍎 ตั้งเป้าหมายการจัดทำ เช่น การบันทึกพฤติกรรมเด็ก โดยใช้วิธีสังเกตและใช้การบันทึกสั้น ซึ่งครูจะสังเกตทุกวัน
🍎 จัดแสดงข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก โดยพิจารณาว่าข้อมูลใดควรนำมาแลกเปลี่ยนและน่ำมาจัดแสดงให้เห็นพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก รวมทั้งให้เด็กมีส่วนร่วมในการเลือกผลงานของตนหรือของกลุ่มและร่วมจัดเตรียมแสดงข้อมูลดังกล่าว

🍋 พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดทาสารนิทัศน์อย่างไร? 🍋
      การจัดทำสารนิทัศน์ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก รวมทั้งเข้าใจการจัดประสบ การณ์การเรียนการสอนและบทบาทของครู และคำนึงถึงบทบาทของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนมากขึ้น การจัดทำสารนิทัศน์การเรียนรู้ของเด็ก ทำให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำสารนิทัศน์ ดังนี้
🍑 เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการศึกษาค้นคว้าของเด็ก ในการสืบค้นข้อมูลส่ำหรับสิ่งที่เป็นประสบการณ์ใหม่ ที่เด็กต้องการเรียนรู้ ครูอาจเสนอแนะให้เด็กไปสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งที่เป็นสถานที่เอกสารหรือบุคคลที่มีประสบการณ์ในเรื่องนั้น เด็กอาจไปสัมภาษณ์หรือสอบถามผู้ปกครอง ทำให้ผู้ปกครองมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก
🍑 เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือเป็นวิทยากรให้ความรู้สำหรับเด็กจากเรื่องที่เรียนรู้วิธีการสืบค้นข้อมูลในเรื่องที่เรียนเพื่อนำหลักฐานและร่องรอยการเรียนรู้มาจัดทำสารนิทัศน์ กระบวนการเรียนการสอนบางครั้งครูอาจเชิญผู้ปกครองที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นๆมาให้ความรู้กับเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เรียนได้ลึกซึ้งมากขึ้น ครูอาจพิจารณาเลือกผู้ปกครองของเด็กในชั้นเรียนมาเป็นวิทยากร ทำให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมของโรงเรียน ได้เห็นกระบวนการเรียนการสอนและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับผู้ปกครองอีกด้วย
🍑 ผู้ปกครองช่วยเหลือเด็กในการทำกิจกรรมที่เด็กไม่สามารถทำได้เช่น การประดิษฐ์สิ่งของเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน การเขียนบรรยายสิ่งที่เด็กต้องการหรืออยากรู้ เป็นตัน
🍑 ผู้ปกครองสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์การเรียนการสอนตามหน่วยหรือเรื่องที่เด็กกำลังเรียนรู้ บางครั้งวัสดุอุปกรณ์หรือสื่อการเรียนอาจได้มาจากความร่วมมือของผู้ปกครองที่มีอยู่ โดยไม่ต้องซื้อหาหรือประดิษฐ์ ดังนั้น ครูจึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ปกครองว่ามีสิ่งใดบ้าง ที่ผู้ปกครองสามารถสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ที่โรงเรียนได้
🍑 ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมินผลงานเด็ก การให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมินผลงานของเด็กก่อนที่จะนำมาจัดทำสารนิทัศน์จะเป็นสิ่งที่มีค่าต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนของครู ทำให้เด็กรู้สึกภาคภูมิใจต่อผลงานที่ได้ทำขึ้น
🍑 ผู้ปกครองมีส่วนในการจัดแสดงนิทรรศการผลงานการเรียนรู้ในขั้นตอนสุดท้ายของการเรียนรู้ ท่าให้
ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปกครอง
ด้วยกัน และหาแนวทางร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก รวมทั้งเป็นการช่วยเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดี
ระหว่างครูกับเด็กและครูกับผู้ปกครอง ทำให้การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

🍇 เกร็ดความรู้เพื่อครู 🍇
      การสะท้อนหรือการไตร่ตรองสารนิทัศน์ เป็นการสะท้อนที่มีความหมายต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่คำนึงถึงวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ดังนั้นการใช้คำหรือข้อความที่สะท้อนผลงานในสารนิทัศน์ จึงควรเป็นการสะท้อนกระ บวนการเรียนรู้ที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวัดและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย

📷 ภาพกิจกรรม 📷



👇Evalaute Teaching and Learning👇
👱 Self-assessment👱
💙 เข้าเรียนตรงเวลา
💚 แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
💜 ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
💛 ไม่พูดแทรกในขณะที่อาจารย์กำลังสอน

👱Evalaute frieads👱
💚 เข้าเรียนตรงเวลา
💛 แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
💙 ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

👱Evalaute teacher👱
💚 แต่งกายสุภาพ
💜 เข้าสอนตรงเวลา
💛 พูดจากระชับได้ใจความ
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



Learning log 17 Monday 25 November 2019 Time 13:30 - 17:30 o'clock

Learning log 17  Monday 25 November 2019  Time 13:30 - 17:30 o'clock 📌 The knowledge gained  📒📕📗📘📙 👉 วันนี้เป็นกา...